วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การทำโครงร่างโครงงาน (กิจกรรมที่ 4.1)

ชื่อโครงงาน The Community @ Amnatcharoen Season 2
ประเภทของโครงงาน พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
1. เด็กหญิงปาณิสรา  ก้านกิ่ง      เลขที่ 10
2. เด็กชายศลันย์        กุลสิงห์     เลขที่ 20
3. เด็กหญิงธนารักษ์  จูเกษม      เลขที่ 39
4. เด็กหญิงกิ่งกัญญา อุทธา       เลขที่ 42
5. เด็กหญิงณัฐนันท์   วงษาสาร เลขที่ 54
     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4
อาจาร์ที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูสุวีรา  สุดาเดช
แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
     อำนาจเจริญ ถือเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม สืบเนื่องมาจาก The Community @ Amnatcharoen ครั้งที่แล้วเราได้พาหลายท่านไปชมการทอผ้าที่อำเภอปทุมราชวงศา และในทริปนี้เราจะพาทุกท่านไปชมสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอลืออำนาจ ซึ่งเป็นอีกอำเภอหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชาวบ้านในอำเภอลืออำนาจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในอำเภอลืออำนาจ ให้หลายคนได้รู้จักมากขึ้น
2. เพื่อเผยแพร่และรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชาวบ้านในอำเภอลืออำนาจ
หลักการ และทฤษฎี
      อำเภอลืออำนาจ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองอำนาจเจริญ ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีผลบังคับใช้ตั่งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539
     อำเภอลืออำนาจตั้งอยู่ตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
-ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองอำนาจเจริญ
-ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพนา
-ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหัวตะพาน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
     ท้องที่อำเภอลืออำนาจประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
-เทศบาลตำบลอำนาจ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอำนาจ
-เทศบาลตำบลสามหนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอำนาจ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลอำนาจ)
-เทศบาลตำบลดงมะยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงมะยางทั้งตำบล
-เทศบาลตำบลเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปือยทั้งตำบล
-เทศบาลตำบลโคกกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกลางทั้งตำบล
-องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงบังทั้งตำบล
-องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่ขีทั้งตำบล
-องค์การบริหารส่วนตำบลแมด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแมดทั้งตำบล
ที่มา : http://th.wikipedia.orq/wiki (อำเถอลืออำนาจ)
วิธีดำเนินการ
     ประชุมสมาชิกในกลุ่มเพื่อที่จะออกความคิดเห็นในเรื่องของการเลือกเรื่องที่จะจัดทำโครงงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. เลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
2. วางแผนเค้าโครงเรื่องที่จะทำ
3. สืบค้นข้อมูลและนำมาเรียบเรียงเป็นโครงงานตามที่วางแผนไว้
4. ตรวจสอบความเรียบร้อยและความถูกต้อง
5. นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและส่งคุณครูผู้สอน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     ได้รับความรู้จากสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านอำเภอลืออำนาจ และเป็นการเผยแพร่สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้านอำเภอลืออำนาจ
เอกสารอ้างอิง
http://thai.tourismthailand.org/ข้อมูลจังหวัด/อำนาจเจริญ (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
http://www.quideubon.com/amnat.php (แหล่งท่องเที่ยวใน จ. อำนาจเจริญ)

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555


วันแม่ แต่เดิมนั้น วันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่ มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรก เป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขวัญวันแม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่งๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ ต่อมาถึง พุทธศักราช ๒๕๑๙ ทางราชกาารได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติเริ่มในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพระเกียรติไว้ว่า "แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้วความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของประชาชนชาวไทยทั้งมวล"
ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของ
วันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ
ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนดวัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า"แม่ใครมาน้ำตาใครไหล"ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง"แม่" ว่า "เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกลก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปีติ แล้วจึงหัวเราะออกลักษณะการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนั้นย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า"แม่"ว่า"เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่เป็นเสียและความหมายที่ซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณ และความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงเรียกตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็นแม่มาก็หัวเราะทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่ เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก สงสารลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก รับประทานอะไรก็คิดถึงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็น วันแม่แห่งชาติย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่งและกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิสีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน
เหมือนกมลสดใสหมดระคาย

กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

วันข้าพรรษา
ประวัติวันเข้าพรรษา และความเป็นมาของวันเข้าพรรษา
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัด เวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือ พวกชาวบ้าน กลุ่มหนึ่งพากันกล่าวตำหนิพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาว่า ช่างไม่รู้จักกาลเวลาเสียเลยพากันจาริกไปเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้งแม้ในระหว่างฤดูฝนบางครั้งก็ไปเหยียบข้าวกล้าของชาวนาเสียหาย ขณะที่พวกนิครนถ์ นักบวชในศาสนาอื่นและฝูงนกยังหยุดพักผ่อนไม่ท่องเที่ยงไปในฤดูฝนเช่นนี้ เรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา พระองค์จึงทรงรับสั่งให้พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันตรัสถามจนได้ความเป็นจริงแล้วจึงทรงบัญญัติเรื่องการเข้าพรรษาไว้ว่า อนุชานามิ ภิกขะเว อุปะคันตุง แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พวกเธออยู่จำพรรษา" พระสงฆ์ที่เข้าจำนำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่หากมีกรณีจำเป็น ๔ ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา ๗ วัน คือ
. ไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
. ไประงับไม่ให้ภิกษุสึก
๓. ไปเพื่อธุระของสงฆ์
. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา
วันเข้าพรรษานี้โดยทั่วไปกำหนดในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า วันเข้าพรรษา (ปุริมพรรษา) ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเข้าพรรษา ในวันแรม๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถเข้าพรรษาได้ก็เลื่อนเข้าพรรษา ในแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ก็ได้ ไปสิ้นสุดเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๑๒ เรียกว่า วันเข้าพรรษาหลัง (ปัจฉิมพรรษา)
๒. การถือปฏิบัติวันเข้าพรรษาในประเทศไทย
สมัยก่อนประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำไร่ทำนาปักดำข้าวกล้าก่อนพรรษากาลพอ พระสงฆ์เข้าพรรษาก็จะเสร็จงานในไร่นา ย่อมมีเวลาว่างมาก ประกอบกับการคมนาคมไปมาระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากฝนตกชุกและน้ำขึ้นเจิ่งนอง เต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไปชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้น
ดังนั้นเมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนก็จะพากันหาอาหารทั้งคาวหวาน ผลไม้ และเครื่องอุปโภคที่จำเป็นแก่สมณะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ใกล้บ้านตน พระภิกษุสงฆ์แนะนำสั่งสอนให้เกิด ศรัทธาในการปฏิบัติ ตามหลักทานศีลและภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่น ๆ ตามประวัติศาสตร์ พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า
"พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขันทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน" นอกจากการรักษาศีลแล้ว พุทธศาสนิกชนไทย ในสมัยสุโขทัยนั้นยังได้บำเพ็ญกุศลอื่น ๆดังรายละเอียดปรากฎอยู่ในหนังสือ นางนพมาศ พอสรุปได้ดังนี้
เมื่อถึงเดือน ๘ ก็มีพระราชพิธีอาษาฒมาส พระภิกษุสงฆ์ทุกรูป จะได้เข้าจำพรรษา ในพระอารามต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้จัดแจงเสนาสนะถวาย พร้อมทั้งบริขารอันควรแก่สมณะบริโภค เช่น เตียงตั่ง เสื่อสาด ผ้าจำนำพรรษา อาหารหวานคาวยารักษาโรค และธูปเทียนจำนำพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวงทั่วราชอาณาจักร แม้ชาวเมืองสุโขทัย ก็บำเพ็ญกุศลเช่นนี้ในวัดประจำตระกูลของตน
อานิสงส์แห่งการจำพรรษา
เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ
๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์
๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ
และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย
พิธีทางศาสนา
การบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ยังมีประเพณีสำคัญอยู่ ๒ ประเพณี ควรนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
๑. ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันดังปัจจุบัน เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมาก ๆก็จำต้องปฏิบัติกิจวัตรเช่น การทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องการแสงสว่างโดยเฉพาะ แสงสว่างจากเทียนที่พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัยและเพื่อต้องการใช้แสงสว่างโดยตรงด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่ กะว่าจะจุดได้ตลอดเวลา ๓ เดือนไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ ๆบ้านเป็นพุทธบูชา เทียนดังกล่าวเรียกว่า เทียนจำนำพรรษาก่อนจะนำเทียนไปถวายนี้ ชาวบ้านมักจัดเป็นขบวนแห่แหนกันไปอย่างเอิกเกริกสนุกสนานเรียกว่าประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษาดังขอสรุปเนื้อหาจากหนังสือนางนพมาศ ดังนี้
เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทั้งทหารบกและทหารเรือก็จัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ทั้งใส่คานหาบไปและลงเรือประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำประดับธงทิว ตีกลอง เป่าแตรสังข์ แห่ไป ครั้นถึงพระอารามแล้วก็ยกต้นเทียนนั้นเข้าไปถวายในพระอุโบสถหอพระธรรม และพระวิหารจุดตามให้สว่างไสวในที่นั้นๆ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้ทุกพระอารามในวัดราษฎร์ทั้งหลาย ก็มีพิธีทำนองนี้ทั่วพระราชอาณาจักร ปัจจุบัน ประเพณีแห่เทียนจำนำพรรษานี้ยังถือปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป บางจังหวัด เช่น อุบลราชธานี ถือให้เป็นประเพณีเด่นประจำจังหวัดตนได้จัดประดับตกแต่งต้นเทียนใหญ่ๆ มีการประกวดแข่งขันแล้วแห่แหน ไปถวายตามวัดต่าง ๆ
๒. ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน
การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้ เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขาได้ทูลของพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ ได้มีผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี จึงนิยมนำผ้าอาบน้ำฝนไปถวายผ้าอาบน้ำฝนถวายพระสงฆ์ผู้จะอยู่พรรษา พร้อมกับอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นต่าง ๆแม้ในปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนไทยก็คงยังปฏิบัติกิจกรรม อย่างนี้อยู่บางวัดมีการแจกฎีกานัดเวลา ประกอบพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก) หรือ ผ้าจำนำพรรษาและเครื่องใช้อื่นๆ ณ ศาลาบำเพ็ญกุศลของวัดใกล้บ้าน
๓.ประเพณีตักรบาตรดอกไม้
การตักบาตรดอกไม้ เดิมทีเดียวได้มีเรื่องราวในสมัยพุทธกาลของนายสุมนมาลาการที่ได้ถวายดอกมะลิ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวมีอยู่ว่า ในกรุงราชคฤห์มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อ "สุมนะ" ทุกๆ เช้า เขาจะนำดอกมะลิ 8 ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร และจะได้ทรัพย์มาเป็นค่าดอกไม้วันละ 8 กหาปณะเป็นประจำ วันหนึ่ง ขณะที่เขาถือดอกไม้จะนำไปถวายพระราชา พระบรมศาสดาเสด็จมาบิณฑบาต พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกาย นายสุมนะเห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก อยากจะถวายดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน ที่ถืออยู่ในมือ เพื่อเป็นพุทธบูชา เขาคิดว่า "ถ้าหากพระราชาไม่ได้รับดอกไม้เหล่านี้ในวันนี้ เราอาจจะถูกประหาร หรือถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้นก็ได้ แต่ก็ช่างเถอะ เพราะถึงพระราชาจะทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการพระราชทานทรัพย์เป็นค่าดอกไม้ ก็คงพอเลี้ยงชีวิตได้แค่ในภพชาตินี้เท่านั้น แต่การบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้เหล่านี้ จะทำให้เราได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"เขาคิดอย่างนี้แล้วก็ตัดสินใจสละชีวิต โปรยดอกไม้ทั้ง 8 ทะนาน บูชาพระบรมศาสดาทันที ทันใดนั้น สิ่งอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น คือ ดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน ไม่ได้ตกถึงพื้นดินเลย ดอกมะลิ 2ทะนาน ได้กลายเป็นเพดานดอกไม้ แผ่อยู่เหนือพระเศียรของพระบรมศาสดา อีก 2 ทะนาน แผ่เป็นกำแพงดอกไม้ลอยอยู่ข้างขวา และ 2 ทะนานอยู่ข้างซ้าย ส่วนอีก 2 ทะนาน อยู่ข้างหลัง กำแพงดอกไม้ทั้งหมดนี้ ลอยไปพร้อมกับพระบรมศาสดา เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระดำเนิน กำแพงดอกมะลิทั้งหมดก็ลอยตามไป เมื่อประทับยืน กำแพงดอกมะลิก็หยุดอยู่กับที่เหมือนกับนายสุมนะเห็นดังนั้น เกิดความปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่อง แทนที่จะลงโทษกลับชื่นชมและปูนบำเหน็บรางวัลทำให้นายมาลาการมีชีวิตที่สุขสบายขึ้น เพราะเหตุนี้ ได้มีประเพณีตักบาตรเข้าพรรษาของไทยที่ได้สืบทอดมานาน และเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่งที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยมีการใช้ดอกไม้ชนิดหนึ่งในการใส่บาตรเรียกว่า ดอกเข้าพรรษาชื่อเรียกเช่นนี้เรียกกันติดปากของคนในแถบ จ.สระบุรี จนบางท่านไม่รู้ว่าดอกไม้นี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่าอะไร ต้นเข้าพรรษาที่ออกดอกเข้าพรรษา ในท้องถิ่นอื่น ๆ จะนิยมเรียกไม้ชนิดนี้ว่า หงส์เหินตามลักษณะของรูปร่างของดอก เพราะดอกและเกสรจะมีลักษณะเหมือนตัวหงส์ กำลังจะบิน มีลีลาสง่างาม มีกลีบประดับเรียงตามช่อดอก นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น กล้วยจ๊ะก่า(ตาก) กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน)กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่) ก้ามปู (พิษณุโลก) ขมิ้นผี หรือกระทือลิง(ภาคกลาง) ว่านดอกเหลือง (เลย) และดอกเข้าพรรษา (สระบุรี)

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดการเขียนโปรแกรม หน้า39

ข้อ1) ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมรับชื่อ นามสกุล เมื่อรับชื่อและนามสกุลแล้วให้แสดงกล่องตอบโต้ทักทายว่าสวัสดี ตามด้วยชื่อที่รับมา

<html>
<head>
<script language="javascript">
<!--
var a;
var b;
a=prompt("input your name");
b=prompt("input your lastname");
alert("สวัสดี"+a+b);
</script>
</head>
</html>
ข้อ2)ให้นักเรียนเขียนโปรแกรมหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า และแสดงผลการหาค่าทางกล่องตอบโต้

<html>
<head>
<script language="javascript">
<!--
var a;
var b;
a=prompt("input your widht");
b=prompt("input your height");
alert("พท.สี่เหลี่ยมผืนผ้า"*a*b);
</script>
</head>
</html>

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



I Am Chife ...

ชื่อ "เด็กหญิงธนารักษ์ จูเกษม"
เพื่อนเรียกว่า "ชิปร์"
เกิดวันที่ 10 ธันวาคม 2540
อายุ 14 ปีกว่าเกือบ 15 ปี
กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 เลขที่ 39
โรงเรียนอำนาจเจริญ
คติประจำใจ "ถ้าไม่ละทิ้งความฝัน แล้วพยายามให้ถึงที่สุด สักวันความฝันจะมาหาเรา"
"ปกติฉันจะเป็นที่เงียบกว่าที่ทุกคนคิดอีกนะ แต่ถ้าไม่มีใครพูดฉันก็คงอยู่ไม่ได้ ฉันไม่ชอบความเงียบที่น่าอึดอัด ฉันจึงต้องพูดมากทั้งที่ไม่มีอะไรจะพูด ถ้าฉันได้ทำอะไรสักอย่างแล้วฉันจะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ ในตอนที่ฉันตั้งใจทำอะไรสักอย่างมากๆแล้วมีใครมากวนฉันจะอารมณ์เสียมากๆ จนทำให้ฉันกลายร่างเป็นปีศาจในสายตาเพื่อนบางคนด้วย ฉันเก็บอารมณ์ไม่เป็น คิดยังไงพูดอย่างนั้น ตรงไปตรงมามาก"